การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)เป็นการวิจัยที่ต้องการค้นหาความจริงทั้งจาก “เหตุการณ์สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง” ซึ่งมี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เป็นหัวใจหลักของการวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมองนั่นจึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ซึ่งหมายความถึง การที่จะปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติปราศจากการกระทำ (Manipulate) ใดๆที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อนไปได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อควรระวังมาฝากกันค่ะ
- การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นการสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว แต่ต้องค่อยๆ ตะล่อมถามไปเรื่อยๆ ให้นึกถึงคำถาม 6 Question Words (ใคร / ทำอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำไม / อย่างไร) ให้ถามความคิดเห็น เหตุผล และมุมมอง ไม่ใช่ถามแบบบังคับให้ตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่” “ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง” ต้องเป็นมุมมองของผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่มุมมองของผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ตอบเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ อย่าใช้คำถามชี้นำเพื่อให้ตอบในแนวที่วางไว้ อย่าใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจ และไม่ควรใช้คำถามที่เป็นความรู้ทางวิชาการเกินไป (ต้องรู้ background การศึกษาของผู้ตอบด้วย) และนอกจากนั้น ถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์หลายๆ รอบ วิเคราะห์หลายๆ รอบ จะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้น เวลาเขียนบรรยายจะทำให้ได้อรรถรสมากขึ้น
- Unstructured interview เริ่มต้นจากคำถามทั่วๆ ไป
- Semi-structured interview สร้างข้อคำถามไว้ล่วงหน้าเป็นข้อๆ และค่อยๆ ตะล่อมถาม อย่างไรก็ตาม การถามแต่ละครั้งของแต่ละคน จะแตกต่างกันไปตามบริบทของคำตอบของผู้ให้ข้อมูล
ลักษณะของคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์
- Experience/behavior questions ถามประสบการณ์หรือเหตุการณ์ (ช่วยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ ? ….)
- Opinion/value questions ถามความคิดเห็น (คิดอย่างไรกับ ..)
- Feeling questions ถามความรู้สึก (รู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น …)
- Sensory questions ถามถึงสัมผัสทั้ง 5 (การเห็น การสัมผัส การรับรส การดมกลิ่น การได้ยิน) เห็นอะไร รสชาติเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินว่าอย่างไร
- Knowledge questions ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ (ในเรื่องที่เป็นจริง ไม่ใช่ความรู้สึก)
- Background/demographic questions ถามภูมิหลังของผู้ให้ข้อมูล เช่น ทำงานมากี่ปีแล้วคะ ?
Tips ข้อควรระวังของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์มีข้อดีคือ ได้ข้อมูลมาก ใช้เวลาน้อย แต่ข้อจำกัดคือ ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ข้อมูลจริง ผู้สัมภาษณ์ต้องมีทักษะในการเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อมูล ต้องใช้เวลาในการผูกมิตรกับผู้ให้ข้อมูล
- การสังเกต (Observation)
- การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation) ต้องเอาใจใส่ต่อทุกอย่างที่เกิดขึ้น ใช้ประสบการณ์ทั้งในฐานะคนในและคนนอกในเวลาเดียวกัน
- การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นักวิจัยทำตัวเป็นคนนอก คอยจดบันทึกเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็น ขณะอยู่ใน setting ที่เลือกศึกษา
การบันทึกภาคสนาม (field note) บันทึกอะไร ?
บันทึกฉากและบุคคล (setting) การกระทำ (acts) แบบแผนกิจกรรม (pattern of activities) ความสัมพันธ์ (relationship) ความหมาย (meaning) เพื่อให้ได้คำตอบว่า ทำไมจึงเกิดพฤติกรรมและการกระทำนั้นๆ
- การอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion)
หลักสำคัญคือ ผู้ร่วมสนทนาทุกคน (ซึ่งควรมีประมาณ 6-12 คน) ควรมีภูมิหลังคล้ายกัน จะต้องไม่มีความขัดแย้งกันเป็นส่วนตัว และไม่มีใครมีอำนาจเหนือคนอื่นในกลุ่ม เป็นการเก็บข้อมูลในกลุ่มที่มีปัญหาเดียวกัน มีประสบการณ์เดียวกัน มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ประเด็นสนทนาต้องไม่ลึกซึ้ง หรือเป็นเรื่องส่วนตัว หรือ sensitive เกินไป
4) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอื่นๆ
- เอกสารส่วนบุคคล เช่น intimate diaries, personal letters (จดหมายส่วนตัว), autobiographies (ชีวิตและผลงาน หนังสือมุทิตาจิต)
- เอกสารทางการ เช่น internal documents (บันทึกข้อความ รายงานการประชุม), external communications (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน), personal records/files (แฟ้มประวัติบุคคล เวชระเบียน)
- ภาพถ่าย อาจเป็นภาพถ่ายที่ถูกค้นพบ หรือภาพถ่ายที่ผู้วิจัยได้ถ่ายขึ้นเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
- สถิติหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณ (ใช้อ้างอิง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ)
- สัญลักษณ์หรือสิ่งของที่มีความหมาย เช่น พระพุทธรูป ไม้กางเขน
- ฟิล์มภาพยนตร์ วิดีทัศน์ และข้อมูลจาก social media
Tips ข้อควรระวังของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
ข้อมูลเอกสารส่วนตัว อาจไม่ใช่ตัวแทนของประชากร ข้อมูลส่วนมากใส่ความคิดเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก ทำให้ bias ได้ เอกสารบางอย่างผู้เขียนไม่ได้ศึกษาถ่องแท้ หรือเขียนบิดเบือนเพื่อลบล้างความผิดของตนในอดีต
ที่มา : วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ